วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความสำคัญของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้


ความสำคัญของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้
          ไชยยศ เรืองสุวรรณ กล่าวว่า ปัญหาอย่างหนึ่งในการสอนก็คือ แนวทางการตัดสินใจจัดดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้นตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งการสอนโดยทั่วไป ครูมักมีบทบาทในการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาสาระ หรือทักษะและมีบทบาทในการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนแต่ละคนด้วยว่า ผู้เรียนมีความต้องการอย่างไร ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญมาก ทั้งนี้เพื่อสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียนได้ตามจุดมุ่งหมาย สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ทั้งมวลที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้น ก็คือ การเรียนการสอนนั่นเอง
          เอ็ดการ์ เดล ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.  สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
2.  สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3.  เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว

4.  ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5.  ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน  เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.  ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2.  ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3.  ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4.  ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
  5.  ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
  6.  ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
-   ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
-   ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
-   ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
-   ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
-   ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
-   นำอดีตมาศึกษาได้
-   นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7.        ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น

ชนิดของไฟล์รูปภาพ
         เราสามารถนำรูปภาพมาประกอบบนหน้าเว็บเพจได้ เช่น แทรกภาพในเว็บเพจ ใส่เส้นกรอบเป็นรูปภาพ และการแสดงภาพให้เป็นพื้นหลังของเว็บเพจ ชนิดของภาพที่จะนำมาประกอบบนเว็บเพจ ควรจะต้องมีขนาดเล็ก เพื่อนำไปเรียกใช้บนเว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว   เช่น GIF, JPEG  และ PNG ซึ่งในการเลือกใช้ฟอร์แมตภาพได้ย่างเหมาะสมเราควรต้องทำความเข้าใจลักษณะการบีบอัดข้อมูลของแต่ละฟอร์แมต เพราะแต่ละแบบจะบีบอัดข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อนำมาใช้กับภาพที่เหมาะสม
ชนิดของภาพกราฟิกบนเว็บ
ตัวอย่างภาพ
ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group)
เป็นไฟล์หนึ่งที่นิยมใช้บน Internet  มีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit color) ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
จุดเด่น
สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit
สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive
มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ (compress files)
จุดด้อย
ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้
คำอธิบาย: jpg
ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File)
พัฒนาโดยบริษัท CompuServe จัดเป็นไฟล์ภาพสำหรับการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ยุคแรก
จุดเด่น สามารถใช้งานข้ามระบบ (Cross Platform) หมายความว่า คอมพิวเตอร์ทุกระบบ ไม่ว่าจะใช้ Windows, Unix ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพสกุลนี้ได้
- มีขนาดไฟล์ต่ำ จากเทคโนโลยีการบีบอัดภาพ ทำให้สามารถส่งไฟล์ภาพได้รวดเร็ว
- สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ (Transparent)
- มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace
- มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
- เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
- ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation)
จุดด้อย ไฟล์ชนิดนี้ก็มีจุดด้อยในเรื่องของการแสดงสี ซึ่งแสดงได้เพียง 256 สี ทำให้ การนำเสนอภาพถ่าย หรือภาพที่ต้องการความคมชัดหรือภาพสดใส จะต้องอาศัยฟอร์แมตอื่น

คำอธิบาย: gif
ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)
ไฟล์สกุลล่าสุดที่นำจุดเด่นของไฟล์ GIF และ JPEG มาพัฒนาร่วมกัน ทำให้ภาพในสกุลนี้แสดงผลสีได้มากกว่า 256 สี และยังสามารถทำพื้นภาพให้โปร่งใสได้ จึงเป็นไฟล์ภาพที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันด้วยอีกสกุลหนึ่ง คุณสมบัติของภาพคือ
สามารถใช้งานข้ามระบบ (Cross Platform) หมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์ทุกระบบ ไม่ว่าจะใช้
Windows, Unix ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพสกุลนี้ได้
ขนาดไฟล์เล็ก ด้วยเทคนิคการบีบอัดคงสัญญาณ LZW
สามารถทำภาพโปร่งใสจากสีพื้น 256 ระดับ
แสดงภาพแบบสอดประสานเช่นเดียวกับ GIF โดยมีความคมชัดที่ดีกว่า
มีคุณสมบัติ Gamma ทำให้ภาพสามารถปรับตัวเองได้ตามจอภาพ และปรับระดับความสว่างที่แท้จริงตามที่ควรจะเป็น
จุดเด่น
สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit)
สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด (Interlace)
สามารถทำพื้นโปร่งใสได้

จุดด้อย
หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ
ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape 4
ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card
โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
คำอธิบาย: png

 




อ้างอิง
กิดานันท์  มลิทอง. 2543. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ความหมายของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก : http://www.learners.in.th/blogs/posts/300337. (วันที่ค้นข้อมูล : 24 มิถุนายน 2556).
สื่อการสอน.  (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก : http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html.  (วันที่ค้นข้อมูล : 24 มิถุนายน 2556).
ความหมายของสื่อการสอน.  (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก : http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503780/Unit04/unit04_003.htm.  (วันที่ค้นข้อมูล : 24 มิถุนายน 2556).